ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง มีประวัติการก่อตั้งจาก “โรงเรียนการช่างอินทราชัย” เดิมเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพชื่อ “โรงเรียนช่างเย็บหนัง” ตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2481 บนเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่ที่ประตูน้ำปทุมวัน ถนนราชดำริ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร เดิมเป็นวังปทุมวันของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ปัจจุบันคือ สถานที่ตั้ง ของเซ็นทรัลเวิลด์ พ.ศ. 2489 กระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนชื่อเป็น“โรงเรียนการช่างอินทราชัย” ตามสร้อยพระนามของเจ้าของวังปทุมวัน เปิดสอนสายอาชีพ ตั้งแต่ระดับมัธยมต้นสายอาชีพ ต่อมาเปิดสอนระดับมัธยมปลายสายอาชีพ และเปลี่ยนหลักสูตรเป็นระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ช่างไม้ ช่างปลูกสร้าง ช่างโลหะรูปพรรณ ช่างเย็บหนัง และช่างร่ม ต่อมากรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้แยกช่างเย็บหนังไป เปิดสอนที่ราชดำเนิน ตั้งโรงเรียนเพิ่มเติมชื่อ “โรงเรียนช่างหนังราชดำเนิน” ปัจจุบัน เป็นวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ที่อยู่ ซอยลาดพร้าว 101 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ส่วน โรงเรียนการช่างอินทราชัย เปิดสอนและรับงานแผนกช่างโลหะ แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง เครื่องเรือน ก่อสร้าง พ.ศ. 2519 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้ง วิทยาลัยอาชีวศึกษากรุงเทพ ให้มีวิทยาเขต 8 แห่ง ดังนี้
วิทยาเขต 1 เทคนิคดุสิต
วิทยาเขต 2 เทคนิคมีนบุรี
วิทยาเขต 3 เทคนิคอินทราชัย
วิทยาเขต 4 เทคนิควัดราชสิทธาราม
วิทยาเขต 5 พณิชยการธนบุรี
วิทยาเขต 6 อาชีวศึกษาเสาวภา
วิทยาเขต 7 อาชีวศึกษาธนบุรี
วิทยาเขต 8 ช่างหนังราชดำเนิน
ปลายปี พ.ศ. 2519 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้ง วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ โดยให้ วิทยาเขตเทคนิคอินทราชัย วิทยาเขตเทคนิคดุสิต วิทยาเขตเทคนิควัดราชสิทธาราม และ วิทยาเขตเทคนิคมีนบุรี อยู่ในสังกัด วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพฯ
ปี พ.ศ. 2520 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้ทุกวิทยาเขตเป็นวิทยาลัย ขึ้นตรงกับ กรมอาชีวศึกษา ประกาศให้เป็น “วิทยาลัยเทคนิคอินทราชัย” เปิดสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมและ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
ปี พ.ศ. 2522 กรมอาชีวศึกษา เห็นว่าพื้นที่ตั้ง วิทยาลัยเทคนิคอินทราชัย ตั้งอยู่บริเวณประตูน้ำ เป็นย่านธุรกิจสถานที่คับแคบ ไม่เหมาะสมที่จะเปิดสอนช่างอุตสาหกรรม สมควรให้เปิดสอนเฉพาะประเภทวิชา บริหารธุรกิจ พาณิชยกรรม จึงให้ย้ายประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาช่างก่อสร้าง และสาขาสถาปัตยกรรม ทั้งหมดไปสร้างใหม่ที่ทุ่งสีกัน ดอนเมือง โดยย้ายนักศึกษา ครูอาจารย์ บุคลากร และครุภัณฑ์การเรียนการสอน ตั้งใหม่ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง” ให้ นายสถิต พราหมณนันท์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคอินทราชัย ไปเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยคนแรก เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2521 ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ตั้งอยู่เลขที่ 425 ถนนสรงประภา แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 54 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา
ส่วนวิทยาลัยเทคนิคอินทราชัย ยังคงชื่อเดิมอยู่ที่ประตูน้ำ กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งผู้อำนวยการคนใหม่ คือ ดร.ศรีสง่า กรรณสูตร เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนสายอาชีพโดยตรงทางด้านธุรกิจเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 วิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ปี พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
ปี พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
ปี พ.ศ. 2559 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ทล.บ)
ปี พ.ศ. 2559 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอากาศยาน
ปี พ.ศ. 2562 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รูปแบบ “ทวิศึกษา” เตรียมช่างอากาศยาน ร่วมกับโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ เพื่อเตรียมนักเรียนให้เรียนต่อระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอากาศยาน
ปี พ.ศ. 2562 เปิดสอนระดับประกาศนัยบัตรวิชาชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้า สาขางานบำรุงรักษา ระบบไฟฟ้า ในระบบขนส่งทางราง โดยความร่วมมือกับ Xi’an Railway Vocational & Technical Institute สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี พ.ศ. 2563 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ “โรงเรียนโรงงาน” ร่วมกับบริษัทอารีย์อภิรักษ์ จำกัด จัดการเรียนการสอน สาขาวิชาช่างเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน
ปี พ.ศ. 2563 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาการโรงแรม
ปี พ.ศ. 2563 เปิดสอนหลักสูตร แกนมัธยม (รายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ)
ปี พ.ศ. 2564 ได้รับเกียรติบัตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาวิถีพุทธ
ปี พ.ศ. 2565-2566 ได้รับเกียรติบัตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 2
ปี พ.ศ. 2566 ได้รับงบประมาณปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง” อาคาร 1 (ฉันทะ) อาคาร 2 (วิริยะ) อาคาร 3 (จิตตะ) และอาคาร 4 (วิมังสา)
ปี พ.ศ. 2566 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาธุรกิจการบิน
ปี พ.ศ. 2567 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
ปี พ.ศ. 2567 วิทยาลัยตั้งชื่อถนนภายในวิทยาลัย ได้แก่ ถนนอริยมรรค ถนนธรรมสัจจะ ถนนศรัทธา ถนนวิรตี ถนนธราธรรม ถนนกรุณา ถนนมุทิตา ถนนอุเบกขา ถนนปัญญา
ปี พ.ศ. 2568 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาการท่องเที่ยว
ปี พ.ศ. 2568 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
– สาขาวิชาไมซ์และอีเวนต์
– สาขาวิชาจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ปี พ.ศ. 2568 ตั้งชื่ออาคารต่างๆ ของวิทยาลัย ประกอบด้วย
– อาคาร 1 (ฉันทะ)
– อาคาร 2 (วิริยะ)
– อาคาร 3 (จิตตะ)
– อาคาร 4 (วิมังสา) = แผนนกการตลาด แผนกวิชาจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน แผนกการบัญชี แผนกเทคโนโลยีธุกชรกิจดิจิทัล
– อาคาร 5 (เบญจธรรม) = แผนกวิชาช่างก่อสร้าง-โยธา แผนกวิชาสถาปัตยกรรม
– อาคาร 6 (ผัสสะ) = แผนกช่างกลโรงงาน แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
– อาคาร 7 (สัญญา) = แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุง
– อาคาร 8 (อากาสะ) = อาคาร 52 ปี
– อาคาร 9 (เวทนา) = โรงอาหาร
– อาคาร 10 (…) = อาคารวิทยบริการ
– อาคาร 11 (…) = อาคารปฏิบัติการช่างยนต์และเทคนิคเครื่องกล
– อาคาร 12 (…) = อาคารปฏิบัติการช่างเชื่อมและเทคนิคโลหะ
– อาคาร 13 (…) = อาคารปฏิบัติการเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายใน